สาระการเรียนรู้ ปัญหา คือ สิ่งที่เราต้องการหาคำตอบ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์เป็นผลมาจากความสงสัยอยากรู้อยากเห็นของคนเรานั่นเอง
โดยเราต้องสังเกตสิ่งต่างๆ ที่เราไม่สามารถอธิบายได้ จะทำให้เกิดความสงสัย อยากรู้อยากเห็นและเกิดปัญหาที่ต้องการแสวงหาคำตอบขึ้นมา
คำชี้แจง ให้นักเรียนตั้งปัญหาจากหัวข้อที่กำหนดให้
1. ตั้งปัญหาเกี่ยวกับ “ปลาร้า” มา 4 ข้อ (ข้อละ 1 คะแนน)
1.1 แรงดันอากาศเกี่ยวข้องกับการหมักปลาร้าหรือไม่
1.2 ปลาร้าทำมาจากอะไรได้บ้าง
1.3 วิธีการทำปลาร้ามีขั้นตอนอย่างไร
1.4 ปัจจัยที่มีผลทำให้รสชาติของปลาร้าอร่อยมีอะไรบ้าง
1.5 ปัจจัยที่มีผลทำให้ปลาร้าเน่าเสียมีอะไรบ้าง
1.6 ภาชนะที่ใช้บรรจุมีผลต่อคุณภาพปลาร้าหรือไม่
2. ตั้งปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่พบเห็น / สิ่งที่อ่าน (ข้อละ 3 คะแนน)
2.1 ภายในบ้าน (ข้อละ 1 คะแนน)
(ตรวจผลงานนักเรียน)
.....................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
2.2 จากหนังสือที่อ่าน (ข้อละ 1 คะแนน)
(ตรวจผลงานนักเรียน)
.......................................................................................
.....................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................
สาระการเรียนรู้ การตั้งปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะหัวข้อที่ได้จากการตั้งปัญหาจะนำไปสู่การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในขั้นต่อไป
การเลือกปัญหาที่เหมาะสมที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. เป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้ด้วยตนเอง
2. เป็นปัญหาที่ชัดเจนสามารถหาคำตอบด้วยวิธีการต่างๆ ได้
คำชี้แจง
1. ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย (a) หน้าข้อความ ที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่เหมาะสมจะทำโครงงานวิทยาศาสตร
์ 2. ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย (r) หน้าข้อความ ที่เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่เหมาะสมจะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ (ข้อละ 1 คะแนน)
.........................1. ทำไมโลกจึงกลม
.........................2. บนท้องฟ้ามีดาวกี่ดวง
.........................3. ขนาดของใบพืชมีผลต่ออัตราการสังเคราะห์ด้วยแสง
.........................4. ปลากินพืชเจริญเติบโตเร็วกว่าปลากินสัตว์
.........................5. หญิงหรือชายใครเก่งกว่า
.........................6. ว่านหางจระเข้รักษาอาการผมร่วงได้
.........................7. น้ำสับปะรดใช้หมักเนื้อให้นุ่มได้
.........................8. จุลินทรีย์ย่อยสลายสารในอุณหภูมิสูงได้ดีกว่าอุณหภูมิต่ำ
.........................9. ทำไมมอดจึงกินไม้
.........................10. ชนิดของน้ำผลไม้มีผลต่อการหมักแอลกอฮอล์
2. ให้นักเรียนกาเครื่องหมาย (r) ทับหน้าข้อที่เป็นปัญหาที่ชัดเจน สามารถหาคำตอบโดย การชั่ง การตวง การวัด การนับ หรือ ทดสอบได้ (ข้อละ 1 คะแนน)
2.1 ก. จุลินทรีย์อีเอ็ม ใช้ดับกลิ่นเน่าเหม็นของน้ำเสียได้หรือไม่
ข. จุลินทรีย์อีเอ็มมีสูตรว่าอย่างไร
2.2 ก. ทำไมจึงเคี้ยวข้าว
ข. การเคี้ยวข้าวให้ละเอียดจะทำให้ย่อยง่ายหรือไม่
2.3 ก. แสงแดดทำให้เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสงได้อย่างไร
ข. แสงสีใดทำให้เกิดอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงได้ดีที่สุด
2.4 ก ความชื้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อรา
ข ทำไมบริเวณที่มีความชื้นจึงเกิดเชื้อรา
3. ให้นักเรียนตั้งปัญหาที่เหมาะสมที่จะทำโครงงานวิทยาศาสตร์ี่เป็นปัญหาที่นักเรียนชอบที่สุดหลัง จากตั้งปัญหาแล้วให้เติมข้อมูลของแต่ละปัญหา
(ข้อละ 2 คะแนน)
3.1 ปัญหาที่พบในท้องถิ่น
…………...................................................................................................................................................
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………….
3.1.1 วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ คือ……………………………………………………………
…………...................................................................................................................................................
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………….
3.2 ปัญหาจากความสงสัย/ความสนใจ ………………………………………………………………
.…………...................................................................................................................................................
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………….
3.2.1 วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ คือ
…………...................................................................................................................................................
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………….
3.2.2 แหล่งความรู้ที่สามารถหาได้ คือ
…………...................................................................................................................................................
……………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………….
สาระการเรียนรู้ การวิเคราะห์โครงงานวิทยาศาสตร์จากบทคัดย่อ เป็นการศึกษาข้อมูลที่ปรากฏบนบทคัดย่อ จากนั้นจึงจำแนกเนื้อความที่รวบรวม
ไว้ออกเป็นส่วนย่อย ๆ ดังนี้
- วัตถุประสงค์ของการศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ในเรื่องนั้นๆ
- วิธีการทดลองและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นๆ
- ผลการทดลอง
- รุปผลการทดลอง
คำชี้แจงให้นักเรียนศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์จากบทคัดย่อที่กำหนดให้ จากนั้นให้นักเรียนตอบคำถาม ( ข้อละ 2 คะแนน)
ชื่อโครงงาน มะเกลือป้องกันแปลงศัตรูพืช
โรงเรียนพยุหะพิทยาคม
อำเภอ พยุหะคีรี
จังหวัด นครสวรรค์
บทคัดย่อ
โครงงานนี้เป็นการศึกษาปฏิกิริยาของน้ำมะเกลือกับแมลงศัตรูพืชล้มลุกในตระกูลผักกาด โดยเลือกศึกษากับผักกาดกวางตุ้งเขียว โดยแบ่ง
การทดลองออกเป็น 2 ตอน
ตอนที่ 1 ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง ตอนที่ 2 ศึกษาระยะเวลาในการฉีดพ่นน้ำมะเกลือ
ที่มีผลต่อการป้องกันแมลง ตอนที่ 1 ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมะเกลือที่มีผลต่อแมลง โดยทำการทดลองนำผลมะเกลือสดมาคั้นน้ำ โดยการโขลกผล
มะเกลือแล้วคั้นด้วยเครื่องคั้นละนำไปฉีดพ่นในแปลงผักกวางตุ้งี่มีการควบคุมให้เหมือนกันดยใช้ความเข้มข้นของน้ำมะเกลือต่างกันแต่ใช้ปริมาณเท่ากัน
และเปรียบเทียบผลกับแปลงผักกวางตุ้งที่ไม่ได้ฉีดพ่นน้ำมะเกลือซึ่งรดน้ำธรรมดาโดยใช้เกณฑ์เปรียบเทียบจากต้นกวางตุ้งที่ใบมีรูพรุนเนื่องจากแมลงรบกวน
ตอนที่ 2 ศึกษาระยะเวลาในการฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง โดยทดลองนำความเข้มข้นที่ได้ผลจากตอนที่ 1 มาฉีดพ่นลงบนแปลง
ผักกวางตุ้งที่มีการควบคุมให้เหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่ระยะเวลาจำนวนวันในการฉีดพ่นน้ำมะเกลือไม่เท่ากัน แล้วเปรียบเทียบจำนวนต้นผักกวางตุ้ง ที่ใบมีรูพรุน
เนื่องจากแมลงมารบกวน เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบผลการทดลองปรากฏว่าแปลงผักกวางตุ้งที่ฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีความเข้มข้น 50% โดยปริมาตรขึ้นไป
จะไม่มีแมลงมารบกวนหรือรบกวนในปริมาณน้อยมาก ซึ่งต่างจากแปลงผักที่รดด้วยน้ำธรรมดาอย่างเดียวจะมีแมลง
มาเจาะกินใบเป็นปริมาณมาก สำหรับผลการทดลองตอนที่ 2 ปรากฏว่าระยะเวลาที่ใช้ฉีดพ่นน้ำมะเกลือได้ผลดีที่สุดคือการฉีดพ่น 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง
1. การทดลองนี้กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ว่าอย่างไร
(ศึกษาปฏิกิริยาของน้ำมะเกลือกับแมลงศัตรูพืชล้มลุกในตระกูลผักกาด)
2. ปัญหาของการทดลองนี้ คืออะไร
(1) ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง
(2) ศึกษาระยะเวลาในการฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง)
3. สมมติฐานของการทดลองนี้ คืออะไร
(1) ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง
(2) ศึกษาระยะเวลาในการฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง)
4. วิธีดำเนินการทดลอง
4.1การทดลองได้เลือกอุปกรณ์อะไรเพื่อใช้ทดลองบ้าง
- เครื่องฉีดพ่น
- น้ำมะเกลือ
- ผักกาดกวางตุ้ง
- แมลงศัตรูพืช)
4.2 การทดลองนี้ ได้แบ่งออกเป็นกี่ขั้นตอน และมีขั้นตอนอย่างไร
แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
(1) ศึกษาความเข้มข้นของน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง
(2) ศึกษาระยะเวลาในการฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีผลต่อการป้องกันแมลง)
5. ผลการทดลองเป็นอย่างไร
ผลการทดลองปรากฏว่า
1. แปลงผักกวางตุ้งที่ฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีความเข้มข้น 50% โดยปริมาตรขึ้นไปจะไม่มีแมลงมารบกวนหรือรบกวนในปริมาณน้อยมาก
2. ระยะเวลาที่ใช้ฉีดพ่นน้ำมะเกลือได้ผลดีที่สุดคือการฉีดพ่น 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง)
6. สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร
การศึกษาวิธีการทำมะเกลือป้องกันแมลงศัตรูพืชจะได้ผลดังนี้
1. แปลงผักกวางตุ้งที่ฉีดพ่นน้ำมะเกลือที่มีความเข้มข้น 50% โดยปริมาตรขึ้นไปจะไม่มีแมลงมารบกวนหรือรบกวนในปริมาณน้อยมาก
2. ระยะเวลาที่ใช้ฉีดพ่นน้ำมะเกลือได้ผลดีที่สุดคือการฉีดพ่น 3 วัน ต่อ 1 ครั้ง)
7. โครงงานวิทยาศาสตร์นี้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง
1. ลดปัญหาแมลงศัตรูพืช
2. ลดปัญหาการใช้สารเคมี
3. ใช้ประโยชน์จากสมุนไพรท้องถิ่น)